วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ต้นยางนา ไม้ 200 ปี

 

ต้นยางนา Yang, Gurjan, Garjan 

ไม้ยางนา เป็นเสมือนพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ ประมาณ 50 เมตร อายุยืนนานถึง 400 ปี ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบ

ชายลำธารในป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous forest) ที่สูง

จากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 600เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียจาก

ตอนใต้ของประเทศอินเดียศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซียลาวกัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์

ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don) เป็นพืชในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)

จัดเป็นพืชให้เนื้อไม้ที่มีความสำคัญมากรองจากไม้สัก 

(เอานึกเล่นๆท่านจะปลูกพญาไม้เอเซียในสวนป่าของท่านเชียวนะ)

จากงานวิจัยมากมาย WEGROFOREST จึงนำยางนามาปลูกพร้อมกับต้นสัก เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับดินและการเจริญเติบโตเต็มที่ของป่าผสมผสาน


ต้นยางนา คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีน้ำมันยางเป็นของเหลวข้น

ซึ่งการนำน้ำยางออกจากต้น สามารถใช้จากต้นที่อายุ 15 ขึ้นไปเฉลี่ยได้วันละ 1 ลิตร

หากคิดง่าย ปีละ 300 ลิตรตัวกลม ต่อ 1 ต้น พลังงานทดแทนน้ำมัน สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตอื่นใด ยางนามีอายุถึง 200 ปี หากเราปลูกยางนาในช่วงชีวิตเราแล้วนำน้ำมันมาใช้ 40 ปี 1 ต้นจะให้น้ำมันถึง 12,000 ลิตรเลยทีเดียว

ส่วนสรรพคุณของต้นยางนาอื่นๆ เล่า 3 วัน 3 คืนก็ไม่จบ มีงานวิจัยเกี่ยวกับยางนามากมาย


รายได้จากการปลูกยางนา

3 แรก กินเห็ดเก็บใบ
1. เห็ดทั้งปีเก็บได้ 4 กิโล คิดกิโลละ 50 บาท 200 บาทต่อปี 30 ปี 6000 บาท
2. เก็บใบยางนาใบละ 1 บาท 1ใบต่อสัปดาห์ 30 ปี ประมาณ 60,000 บาท
2. น้ำมันที่ได้จากต้นยางนาเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไปได้ 30 ลิตร ต่อต้นต่อปี 30 ปี 900 ลิตร คิดลิตรละ 100 xประมาณ 90,000 บาท
3. เมล็ดยาง 30 ปี มาเพาะ คิดปีละ 300-1000 ต่อต้นต่อปี  300 เมล็ดx30 ปี = 9000 เมล็ด มาเพาะขายต้นละ 10 บาท ได้ 90,000 บาท

รวมๆ 1 ต้น รายรับประมาณ 246,000 บาท
อ้างอิงโดย อาจารย์กฤษดา มหาวิทยาลัยขอนก่อน





ราคาต้นยางนา


ปัจจุบันนี้ราคาซื้อขายต้นยางนาขนาดใหญ่ ถือว่าทำรายได้ไม่แพ้ต้นสักทอง เพราะราคาซื้อขายต้น

ยางนาอายุ 15-20 ปี ราคาต้นละ 15,000-25,000 บาท ต่อต้น (ไก่,2555) ตัวเลขข้อมูลจากงานวิจัย มหาลัยขอนแก่น  

ซึ่งไม้ยางนาในปัจจุบันขาดแคลนและต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม้ยางนา เป็นไม้ที่มีความต้องการทางเศรษฐกิจสูง

เพราะว่าสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และไม้สร้างอาคารบ้านเรือน ซึ่งสามารถ

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ได้อย่างมหาสาล อีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันยางที่ได้จากต้นยางมาทำ

เชื้อเพลิง น้ำมันที่ได้จากต้นยางนา อายุ 15 ปี สามารถให้น้ำมันได้วันละ 1 ลิตร

วิธีนำน้ำยางออกมาจากต้นยางนา


ขยายพันธุ์ ยางนา อย่างไรนั้น

ไม้ยางนา หรือไม้วงศ์ยางส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปกติเมล็ดยางนาจะแก่และเริ่มร่วง

จากต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ดังนั้นการเพาะต้นกล้ายางนาจะเพาะจากเมล็ดที่เก็บมาจาก

พื้นดินใต้ต้นใหญ่ (ต้นแม่) เฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นที่จะสามารถงอกและเติบโตเป็นกล้าไม้ที่สมบูรณ์

ได้ เมล็ดที่เก็บแล้วไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเพราะจะเกิดการผ่อและลีบจากการสูญเสียความชื้นใน

เมล็ด หรือการเจาะกินเนื้อเยื่อภายในของพวกด้วงแมลงต่างๆ จนไม่สามารถงอกได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับ

การเพาะกล้าไม้ที่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้ตลอดทั้งปี บางปีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงมาก ยางนาไม่ออกดอก

ไม่มีเมล็ด ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการเพาะได้

ยางนา 1 ต้น สามารถให้เมล็ดได้ถึง 5 หมื่นเมล็ดเลยทีเดียว คิดเล่นๆเอามาเพาะขายต้นละ 10 บาท



ช่อดอกและดอกของยางนา (ภาพโดยพงษ์ศักดิ์พลเสนา และอนิษฐาน ศรีนวล)



ดอกยางนา

ยางนามีช่วงฤดูกาลออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีดอกออกเป็นช่อตามซอก

ใบและปลายกิ่ง เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกมีขน ดอกเป็นดอก

สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี

5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแผ่เป็นปีก เป็นปีกสั้น 3 ปีก และปีกยาว 2 ปีก เรียงจรดกัน

(valvate) ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลอ่อน กลีบเลี้ยงติดทนและขยายขนาดขึ้นเมื่อติดผล


ผลและเมล็ด

ยางนามีการผสมเกสรทั้งแบบการถ่ายเรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination) และการถ่ายเรณู

ข้ามต้น (cross-pollination) ในแต่ละช่อดอกจะติดผลเพียง 1-3 ผล ติดผลในช่วงประมาณเดือน

พฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ผลของยางนาจัดเป็นผลแบบผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) ซึ่งเป็นผล

แห้งไม่แตกแบบเปลือกแข็งมีเมล็ดเดียว (nut) รูปกลม ยาว 2-3 เซนติเมตร มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีก

ซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยงที่ขยายขนาดเป็นปีกยาว 2 ปีกยาวประมาณ 15 เซนติเมตรและปีกสั้น 3 ปีก

ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีแดงปนชมพูผิวมีขนสั้น


เมล็ดที่สมบูรณ์ดูจาก ปีกและผลต้องแห้ง สีของปีกและผลต้องเป็นสีน้ำตาล ถ้าผลยังสดอยู่และเป็นสีแดง

แสดงว่าผลยังอ่อนอยู่แล้วร่วง ไม่มีหนอนเจาะดูจากเมล็คถ้ามีขี้หนอนแล้วมีรูให้สันนิษฐานว่าโดนหนอน

เจ าะ ทดสอบความมีชีวิตโดยการ สุ่มเก็บเมล็ดสั ก 10-20เมล็ด โดยนำผลมาผ่าดูว่าภายในเมล็คมีสีอะไร ถ้า

ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำแสดงว่าเมล็ดเสียหายมาก ถือว่ามีเปอร์เซ็นตัความงอกต่ำ ถ้าผ่าออกมาแล้ว

ส่วนใหญ่มีสีขาวแสดงว่าเมล็ดมีความมีชีวิตสูงเมล็ดที่ใหญ่ต้นกถ้าที่ได้ก็จะใหญ่และแข็งแรงถ้าผสม

เชื้อไมคอร์ไรซา ในดินที่นำมาเพาะกล้าไม้จะช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้นซึ่งเป็นเชื้อราที่พบในรากของยางนา

เป็นชนิด เอคโตไมคอร์ไรซา เชื้อชนิดนี้มีผลต่อการเจริญเดิบโตของยางนาโดยเชื้อราจะช่วยในการดูดซับ

ความชื้นและแร่ธาตุในดินทำให้กล้ายางนาทนทานต่อความแห้งแล้งอีกทั้งยังป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นที่ราก

อีกด้วย


การเจาะเอาน้ำน้ำมันจากต้นยางนา


จากลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ยางนาและท่อน้ำมัน จึงได้มีการศึกษาเพื่อหาวิธีการเจาะเอา

น้ำมันยางนาแบบใหม่ โดยตั้งสมมุติฐานว่าถ้าสามารถเจาะรูตัดท่อน้ำมันที่อยู่ในเนื้อไม้ที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อ

เจริญเข้าไปได้ น้ำมันก็จะไหลออกมาตามรู สมมุติฐานนี้ได้พิสูจน์โดยใช้สว่านไฟฟ้าและดอกสว่านขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร เจาะเข้าในลำต้นลึกประมาณ 25 เชนติเมตร (ภาพที่ 2.9ก. และ 2.9ข.

ในทิศทางเฉียงขึ้นเพื่อให้น้ำยางซึ่งมีความหนืดไหลออกมาด้านนอกได้สะดวก (ภาพที่ 2.9ค.) ซึ่งปากรู

ทางออกจะมีภาชนะสำหรับเก็บแขวนอยู่ (ภาพที่ 2.9ง.) วิธีใหม่นี้สามารถเก็บน้ำมันยางนาได้โดยเฉลี่ย

ประมาณ 400 มิลลิลิตรต่อวันต่อรู ถ้าทิ้งไว้ประมาณ 1 วันน้ำมันยางจะเริ่มหยุดไหล เนื่องจากยางเหนียว

ที่อยู่ในน้ำมันเกิดการแข็งตัวปิดแผลที่เจาะ ต้องใช้แท่งเหล็กที่มีปลายงอเหมือนช้อน ขูดเอายางเหนียวที่ติด

ภายในรูออก น้ำมันยางนาก็จะเริ่มไหลได้อีก (สมพร เกษแก้ว และคณะ, 25542 วิธีนี้ไม่ทำให้เกิดแผลใหญ่

กับต้นไม้ ถ้าปล่อยแผลทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ต้นยางนาก็จะสามารถสร้างเนื้อเยื่อใหม่มาปิดได้เกือบหมด





รูปภาพ credit และอ้างอิงจาก

https://drive.google.com/file/d/0B1AMifuPWDycR2FzNmQ5UnVUb1E/view?resourcekey=0-NmgreT2v1W_e---i2TZjXA


ยางนาต้นไม้ของพระราชา

ยางนามีการปลูกขยายพันธุ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ต้นยางนาบริเวณสองฟากถนนสาย

เชียงใหม่-สารภี-ลำาพูน ซึ่งปลูกตั้งแต่ปีพ.ศ.2442และปลูกเพิ่มในปีพ.ศ.2465ในสมัยรัชกาลที่6 ปัจจุบัน

มีจำนวนมากกว่า 1,000 ต้น





ต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำพูน


ยางนา ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ได้มีพระราชปรารกเมื่อปี พ.ศ.2504 ด้วยทรงห่วงใยในสถานการณ์ของไม้ยางนาเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้วว่า

"ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดฟัน ไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่

น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปถูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณ ไม้ยางนาก็จะลดน้อยลง

ไปทุกที จึงควรที่จะ ได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการ

ปฏิบัติ"

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่

นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประกวบคีรีขันธ์ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างถนนเพชรเกษม ช่วงหลัก

กิโลเมตรที่ 176-179 ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนัก

พระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมบายน 2504 ให้เจ้าหน้าที่นำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านใน

บริเวณพระตำหนักจิตรถคารโหฐานส่วนหนึ่งและ ได้ทรงเพราะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้า

พระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง

จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ 4 เดือนในบริเวณสวนจิตลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 


เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าถูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ จำนวน

1,096 ต้น โดชมีระยะปลูก 2.50 x 2.50 เมตร เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุ

เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วน

พระองค์ส่วนจิตรลดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์

เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ(สมชัย,2550)

ลองเข้าไปอ่านประวัติ ดาบวิชัย (เป็นคนบ้าปลูกต้นไม้) เค้าลองผิด ลองถูก เรื่องการปลูกต้นไม้มาก

ว่า 20 ปีต้นไม้ที่ดาบพูดถึงเป็นประจำ มี 2 ชนิด คือ ยางนา และ ต้นตาลด้วยเหตุเพราะปลูกง่าย ทนทาน และ

มีประโยชน์มากมาย

ที่มา

http://www.qsbg.org/Database/Article/Art_Files/article24-4.pdf

http://wwww.kasctporpeang.com/forums/index.php?topic-48957.15,wap2

วิธีการปลูกและเพาะต้นสักทอง และบำรุงดูแลรักษาต้นสักทอง


วิธีการปลูกต้นสักทอง และบำรุงดูแลรักษาต้นสักทอง

การเพาะต้นสักที่ได้รับความนิยมมี 2 ทาง จากการเพาะเมล็ดและจากการปักชำโดยใช้เหง้า

วิธีเพาะเมล็ดสักทอง

1. นำเมล็ดแช่น้ำไว้ 2 คืน ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะดีมากให้อุ่นแบบมีสัมผัสได้ไม่ร้อนเกินไป

2. ดินที่ใช้เพาะเป็นดินร่วน หรือถ้าไม่มีดินร่วนให้นำหว่านกับพื้นแล้วกลบด้วยแกลบดำผสมทรายหยาบกลบพอให้มิดเมล็ด

3.ช้ไม้เล็กๆกดเมล็ดหรือค่อยๆเหยียบให้เมล็ดจมอยู่กับพื้นหรือเทคนิค เอาไม้กลมหรือท่อ PVC มา roll เหมือนรีดแป้งเพื่อให้เมล็ดสักจมดินแล้วเอาดินกลบพอให้มิดเมล็ดอย่าหนาเกินจะทำให้เมล็ดงอกยาก

4. รดน้ำ 2-3 วันครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน จะเริ่มงอก จะนำไปเพาะหรือจะทำเป็นเหง้า ใช้ปลูกในปีถัดไปได้







วิธีการปักเหง้าสักทอง


1. ต้นกล้าของสักทองที่จะนำมาปักเหง้า ควรมีอายุ 1 ปี ขึ้นไป ถ้าต้นอายุต่ำกว่า 1 ปีลำต้นอาจไม่แข็งแรงเท่าที่ควรแต่อาจจะดูเอาที่ลำต้นแข็งแรงเป็นสีน้ำตาลซัก 8 เดือนก็ได้ เราจะได้ลำต้นที่แข็งแรงมาก จะสักเกตุว่าลำต้นจะเป็นสีน้ำตาล

2. ดึงต้นออกมาจากดิน เราต้องตัดรากฝอย และตัดยอด การตัดยอดเราตัดออกโดยนับจำนวนตา จากลำต้นตรงกลาง ตัดแบบเฉียงเพื่อเวลารดน้ำการตัดแบบเฉียงจะทำให้น้ำไม่ขังอยู่ที่แนวตัด

3. เตรียมถุงดิน หน้ากว้าง 2 นิ้ว ขึ้นไป ผสมดินปลูกทั่วไป ปักเหง้าลงไปลึกให้เหลือตา ลำต้นขั้นมาจากดิน 2 คู่

4. รดน้ำวันละครั้ง 1-2 อาทิตย์ ก็จะแตกยอด

5. เลี้ยงไว้จนลำต้นโต 3-6 เดือน และนำกล้าไปย้ายลงดินต่อไป







วิธีการปลูกต้นสักทอง


1.การปลูกต้นสักทอง การปลกูต้นไม้ควรปลกูในช่วงฤดฝูน ซึ่งมีปริมาณน้ำฝน หรือความชื้นเพียงพอให้ต้นไม้สามารถ ตั้งตัวและเติบโต มีโอกาสรอดตายสูง ระยะปลูกที่เหมาะสมประมาณ 4 x 2 เมตร ระยะแถวเดิน 2 เมตรระยะระหว่าต้น 4 เมตร
ขุดหลุมกว้างและลึกประมาณ 30 x 30 หรือ 50 x 50 เซนติเมตร

2.การกรีดถุงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินแตกกระจาย แนะนำไม่ให้รดน้ำสัก 1 วันเพื่อให้ดินเกาะตัวแน่น
กระทบกระเทือนระบบราก นำกล้าวางลงปลูกให้ระดับโคนต้นพอดีกับผิวดิน

3.ในช่วง 1 - 3 ปีแรก สิ่งสำคัญคือ การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง หากมีกิ่งแตกออกด้านล่าง ควรทำการตัดกิ่งออก เพื่อให้ลำต้นตรง ต่อมาเมื่อสักอายุประมาณ 6 - 10 ปี สักเติบโตหนาแน่นมากขึ้น

การปลูกพืชระหว่างต้นสักเพื่อหาพืชพี่เลี้ยง

"พืชพี่เลี้ยง". เราเคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องมีพืชพี่เลี้ยง

1.ธรรมชาติของพืชป่า คือระบบนิเวศน์ ในดินจะต้องมีสิ่งมีชีวิตหลกหลายเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเป็น โปรโตซัว รา แบคทีเรีย หรือ Nematode เพื่อให้ครบองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ป่า soil food web ลิ้ง https://en.wikipedia.org/wiki/Soil_food_web

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเราไม่สามารถทำให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ได้เลยดังนั้น การเพิ่มความหลากหลายทางระบบนิเวศน์จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ในเมืองไทยนิยมปลูกกล้วยเป็นพี่เลี้ยง เนื่องจากเป็นพืชโตง่าย ไม่ต้องดูแลมากและทนแล้ง

2. ดินดีต้องการรากพืช รากพืชต้องการใบในการสังเคราห์แสง ดังนั้น พื้นที่ที่ว่างหากเราไม่ปลูกพืชตามธรรมชาติก็จะมอบวัชพืชมาให้เรา เราจะแก้ไขเรื่องวัชพืชได้อย่างไร่ สำหรับการปลูกป่าของ wegroeforest เราใช้การปลูกถั่วเขียวและปอเถือง ควบคู่ไปกับการปลูกไม้ยืนต้น เพราะพืชตระกูลถั่วช่วยตึงไนโตรเจนและยังเพิ่มคุณภาพให้กับดินอย่างมหาศาล เราใช้วิธีการปลูกแบบให้โต และเพี่ยวตายเลยโดยไม่ถอนและไม่ไถกลบ  ทำไมเราทำเช่นนั้น เนื่องจากระบบนิเวศน์ได้ถูกสร้างขึ้นแล้วหลังจากมีรากงอกออกลงดิน

ดังนั้นสิ่งมีชิตตั้งแต่ Microorganim รวมถึงสัตว์หน้าดินเช่น แมลงและไส้เดือน ย่อมมีที่อยู่อาศัยแล้ว ระบบนิเวสน์สร้างตัวแล้ว เราจะไม่ไปทำลายเด็ดขาด

3. การที่ ปอเทืองสูงเจริญขึ้นใช้เวลา 120 วัน ปอเทืองจะคลุมดินและแสงทำให้หญ้าอ่อนแอ หญ้าอาจตายหรือไม่ก็ได้ แต่ตอนนี้ไม้ยืยต้นของเรามีหมู่บ้าน มีเพื่อนบ้านแล้ว รอดูความงอกงามของต้นไม้ในป่าของคุณได้เลย


อ้างอิง ระบบนิเวศในการปลูกต้นสัก https://www.mdpi.com/2076-2607/9/9/1990






วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ระบบน้ำหยด สำหรับการปลูกป่า

 




ระบบน้ำหยด

เป็นระบบน้ำที่กำลังได้รับความนิยมมาก เพราะประหยัดน้ำ เปรียบเทียบกับระบบน้ำแบบอื่น

เช่น  ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ ระบบปล่อยน้ำทางผิวดิน ระบบน้ำเหวี่ยง ระบบน้ำพุ่ง

 และมีประสิทธิภาพสูง เป็นการปล่อยน้ำช้าๆ บ่อยๆ ผ่านหัวปล่อยน้ำหยดที่คอยควบคุมให้น้ำไหลออกเท่าๆ กันทุกจุด ปัจจุบันนิยมใช้ระบบน้ำหยดกันมาก ใช้ได้กับพืชยืนต้นที่ต้องการประหยัดน้ำได้ทุกชนิด

การตั้งเวลาระบบน้ำหยด

สำหรับไม้ยืนต้น อย่างไม้ป่า หลังจากเริ่มปลูกลงดินแนะนำให้ ตั้ง 2 เวลา เช้าตรู่ และตอนเย็น

ซึ่งระยะเวลาในการหยดน้ำใช้เพียง 20 นาทีต่อครั้ง


การให้น้ำแบบหยดเหมาะสำหรับดินส่วนใหญ่ บนดินเหนียวต้องรดน้ำอย่างช้าๆเพื่อหลีกเลี่ยงการขังของน้ำบนผิวดินและการไหลบ่า บนดินทรายจะต้องมีอัตราการปล่อยน้ำให้นานขึ้นให้แน่ใจว่าดินด้านข้างจะเปียกเพียงพอ เพื่อต้นไม้จะได้รับน้ำเพียงพอ


อุปกรณ์ต่าง ๆ

  1. ถังน้ำขนาด 2,000 ลิตร (ทางเลือกจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ )
  2. ถังน้ำขนาด 200 ลิตร (ทางเลือกจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ )
  3. ปั๊มหอยโข่ง 1 นิ้ว ขนาด 0.5 แรงม้า
  4. บอลวาล์ว ประมาณ 10 ตัว เพื่อปรับแรงดันในแต่ละช่วงของข้อต่อ
  5. ท่อพีวีซี 1.5 นิ้ว สำหรับเดินระบบถังสูบและจ่ายน้ำเข้าสู่ท่อน้ำหยด
  6. ท่อกรองน้ำเกษตร สำหรับกรองหยาบก่อนส่งน้ำเข้าท่อน้ำหยด
  7. เทปน้ำหยด เลือกระยะรูน้ำหยดตามลักษณะของพืชเเละการปลูก
  8. วาล์วน้ำหยด สำหรับต่อเทปน้ำหยด
เช็คราคาติดตั้งระบบน้ำ ที่ไลแอด @wegrowforest. ราคาเริ่มต้นที่ 18,000-

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

 

การปลูกป่าแบบผสมผสาน


การปลูกป่าผสมผสานก็เหมือนการปลูกพืชแบบผสมผสาน เพิ่มความหลายหลายทำให้ไม้ป่าโตรวดเร็ว

จุดประสงค์หลักคือ เราต้องการความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้ต้นไม้ของเราเติบโต คลุมหน้าดิน และไม่ตาย การปลูกป่าแบบผสมต้นไม้จะช่วยส่งเสริมกันเอง เนื่องจากต้นไม้ที่โตช้า จะโตเร็วขึ้นหากปลูกใกล้ต้นไม้โตเร็ว เนื่อจากมันต้องแย่งกันสูงเพื่อรับแสง แข่งกันรับแสง

ผลพลอยได้ จากการปลูกป่าที่มีคุณค่ากับโลกของเราคือ ต้นไม้จะดึง CO2 ที่ลอยอยู่บนอากาศกลับเข้ามาในราก และดิน พืชจะเก็บ CO2 มากกว่า 40% ไว้ที่ราก เมื่อในดินมี CO2 และมีอินทรีย์วัตถุ ต้นไม้ก็จะเจริญงอกงาม เราเคยเห็นป่าในประเทศไหนที่มีพืชเพียงชนิดเดียว ไม่มีแน่นอนเพราะธรรมชาติต้องการระบบนิเวศน์ที่หลากหลาย เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ต้นไม้ยืนต้นที่นักพันธุศาตร์แนะนำให้ปลูก มีดังนี้



ดินดีปลูกอะไรก็งาม

ดินดีต้อง Microorganism ที่อยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมากให้มีความหลายหลายมากขึ้น 

ส่วนประกอบของต้นพืช นั้นประกอบด้วย CHON 

CHON เป็นตัวย่อช่วยจำของธาตุสี่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน

ซึ่งทั้งพืชที่กินได้และกินไม่ได้ มีส่วนประกอบ ของ C และ O รวมกันประมาณ 70-90% 

อัตราส่วนของCHON ในพืช 

(รบกวนใส่ลิ้งค์) ลิ้งค์ https://www.researchgate.net/figure/Canonical-Formulas-and-CHON-Composition-of-Model-Constituents_tbl8_11809709

ดังนั้นการปลูกพืชป่าหลากหลายเราก็จะได้ ระบบนิเวศน์ของ Microorganism ที่หลากหลายไปด้วย

Microorganisms คืออะไรมีความสำคัญยังไงกับ ดิน พืช

Microorganisms ประกอบด้วย 

1. แบคทีเรีย (Bacteria) 2. เชื้อรา (Fungi) 3. โปรโตซัว (Protozoa) 4. สาหร่าย (Algae) 5.รวมถึง Virus

พวกมันจะช่วยย่อย กิน ซากพืช ซากสัตว์ รวมถึงตัวพวกมันเอง และเกิดมาเป็นธาตุอาหารที่พืชได้นำไปใช้ได้ทันที



เราอาจจะลองนึกภาพตาม การที่มีดินแต่ไม่มีพืชไม่มีราก หรือ เราทำการไถกลบ เราดึงรากพืชที่อยู่ในดินซึ่งมี Miroorganism เป็นจำนวนมาก ซึ่งในหนึ่งหยิบมืออาจมี Microbs จำนวนล้านล้านตัวอาศัยอยู่ เมื่อเราเอารากพืชออกมา ก็เท่ากับฆ่าสิ่งมีชวิตขนาดจิ๋วที่ตาเรามองไม่เห็นเข้าไปด้วย 

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทำไมปุ๋ยหมักส่งกลิ่นเหม็น และวิธีแก้ไขปุ๋ยหมักส่งกลิ่นเหม็น

 ทำไมปุ๋ยหมักส่งกลิ่นเหม็น และวิธีแก้ไขปุ๋ยหมักส่งกลิ่นเหม็น





ต้องทำความเข้าใจ อัตราส่วน C:N


เหตุใดอัตราส่วน C:N จึงมีความสำคัญ
จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักต้องการส่วนผสมหลัก 4 ชนิดจึงจะทำงานได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวสวน
เป็นจุดสนใจของบทความนี้คือคาร์บอนและไนโตรเจน (อีกสองชนิดคือฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม)

แบคทีเรียประกอบด้วยคาร์บอนและไนโตรเจนในอัตราส่วน 8:1 (คาร์บอน 8 หน่วยต่อไนโตรเจน 1 หน่วย) ในการเติบโตและเพิ่มจำนวน พวกมันต้องการคาร์บอนเพื่อรักษาตัวเองและให้พลังงาน และไนโตรเจนเพื่อเติบโตโปรตีน

หากอัตราส่วน C:N และเงื่อนไขอื่นๆ ถูกต้อง จุลินทรีย์มีโซฟิลิกจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิปานกลาง โดยเริ่มทำลายสารอินทรีย์ในปุ๋ยหมัก ทำให้เกิดความร้อนในกระบวนการ จุลินทรีย์เหล่านี้ทำงานได้ดีที่สุดในอุณหภูมิประมาณ 20 ถึง 45 องศาเซนติเกรด

จุลินทรีย์มีโซฟิลิกจะถูกแทนที่ด้วยจุลินทรีย์ที่ทนความร้อน ซึ่งเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิสูง ความร้อนจะฆ่าเชื้อโรคและเมล็ดวัชพืช และวัสดุจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยเร่งขั้นตอนนี้ของกระบวนการทำปุ๋ยหมัก (ดูวิทยาศาสตร์ปุ๋ยหมักสำหรับคำอธิบายเชิงลึกเพิ่มเติม)

เพิ่มคาร์บอนมากเกินไปและกระบวนการทำปุ๋ยหมักจะช้าลง หากคุณมีไนโตรเจนมากเกินไป ไนโตรเจนจะสูญเสียไปในรูปของแอมโมเนีย (ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย)

วัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอนสามารถทำหน้าที่อื่นๆ ให้กับกองปุ๋ยหมักได้ เศษไม้ช่วยสร้างโครงสร้างได้ ในขณะที่ "สีน้ำตาล" อื่นๆ เช่น ใบไม้แห้งต่างๆ 


การได้รับอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ดีไม่ใช่แค่การทำปุ๋ยหมักที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย จากข้อมูลของ Practical Compost Engineering (Haug, 1993) เมื่อคุณมีส่วนผสมที่เหมาะสม แอมโมเนียที่ปล่อยออกมาจากแหล่งที่มีไนโตรเจนสูงจะถูกดักจับเพื่อสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในวัสดุที่มีไนโตรเจนต่ำ แทนที่จะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ



อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ดีที่สุดสำหรับการทำปุ๋ยหมักคืออะไร?

การทดลองที่สำคัญอย่างหนึ่งทำโดย McGaughey และ Gotass ในปี 1953 นักวิจัยได้ทดสอบอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนตั้งแต่ 201 ถึง 78:1 พวกเขาพบว่าช่วงความเร็วที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่าง 30:1 ถึง 35:1 ไนโตรเจนส่วนเกินที่ต่ำกว่าช่วงนี้จะสูญเสียไป ในขณะที่สูงกว่าช่วงนี้ ความเร็วในการทำปุ๋ยหมักจะช้าลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะใช้อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ 78:1 ก็ยังผลิตปุ๋ยหมักได้ใน 21 วัน

การศึกษาอื่นโดย Ogunwande พบว่าอัตราส่วนคาร์บอน: ไนโตรเจนที่ 25: 1 ส่งผลให้สูญเสียไนโตรเจนในกระบวนการน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ทุกอัตราส่วนที่ทดสอบ (ตั้งแต่ 20:1 ถึง 30:1) ทำให้ปุ๋ยหมักมีอายุครบ 80 วัน

อัตราการแตกตัวของวัสดุปุ๋ยหมัก

อัตราส่วน C:N ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ส่งผลต่อกระบวนการทำปุ๋ยหมัก อีกปัจจัยหนึ่ง (แม้ว่าจะไม่ใช่ปัจจัยเดียว) คือความเร็วที่วัสดุคาร์บอนสูงจะแตกตัว

วัสดุที่เป็นไม้มีลิกนิน เข้มข้นสูง ซึ่งเป็นสารที่แตกตัวได้ช้ากว่า ในขณะที่เศษผลไม้ซึ่งมีเซลลูโลสในระดับที่สูงกว่าจะแตกตัวได้เร็วกว่า กองปุ๋ยหมักที่มีแหล่งคาร์บอนจากไม้เป็นส่วนใหญ่ในที่สุดจะสูญเสียอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนในอุดมคติ ทำให้กระบวนการทำงานช้าลงและทำให้มีกลิ่นเหม็น

ในขณะเดียวกัน วัสดุที่เป็นไม้สามารถให้โครงสร้างแก่ปุ๋ยหมักและช่วยสร้างช่องอากาศเพื่อให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์ ในโลกอุดมคติ ควรใช้ทั้งสีน้ำตาลทั้งแบบผสมไม้และไม่ใช่ผสมไม้

ลิกนิน คือ โพลิเมอร์อินทรีย์เชิงซ้อนที่สะสมอยู่ในผนังเซลล์ของพืชหลายชนิด ทำให้มันแข็งและเป็นเนื้อไม้


วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ของขวัญ

จะซื้อของให้แฟน ~ ถามมาว่าจะซื้ออะไรให้เขาดี

~ อยากซื้อแต่ของแบรนด์เนมให้แต่ตัวเองทุนน้อยนักถ้าเป็นผู้ชายที่เขามีความคิดเขาคงคิดว่าจะไปบริหารจัดการเงินของเขาและครอบครัวเขาได้อย่างไร ใช้เงินเกินตัวมีเงินนิดเดียว
ยังใช้เงินขนาดนี้

~ ถามกลับ เวลาไปเที่ยว ลิซซี่จำโรงแรม 5 ดาวสวยๆได้ หรือว่าเวลาที่เรานั่งหนาวเหน็บหลังรถกระบะที่เขาใหญ่ได้

~ หยาวเหน็บ แบบไม่มีเสื้อหนาว ดาวเต็มท้องฟ้า

~ ก็แบบเดียวกันแหละ ความประทับใจคือความทรงจำ

~ จำเวลาที่หม่าม๊าซื้อกระเป๋าให้หรือจะมาที่ไปเที่ยวหัวหินแล้วมีความสุขอันไหนมีความสุขกว่ากัน

~ เวลาไปเที่ยว...วิ่งเล่ยกับมั่มม้า

~ รักใครไม่อยากให้เขาลืมมอบประสบการณ์ดีๆที่อุ่นใจให้เขา มาว่ามันมากมายกว่าเงินทอง

~ ข้อคิดเฉยๆ

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทำไมปุ๋ยหมักถึงร้อน และการทำปุ๋ยหมักแบบแอโรบิก

 




ทำไมปุ๋ยหมักถึงร้อน

จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในปุ๋ยหมักใช้สารอินทรีย์เพื่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ ขณะที่พวกมันบริโภคและย่อยวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน พวกมันจะปล่อยความร้อนออกมา ซึ่งจะทำให้กองปุ๋ยหมักค่อยๆ อุ่นขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จุลินทรีย์ชนิดใหม่ก็เคลื่อนเข้ามา


หากปุ๋ยที่คุณหมักกำลังร้อนอยู่ต้องรอให้กระบวนการการหมักสิ้นสุดก่อนนำไปใส่ให้พืชนะคะ





การทำปุ๋ยหมักแบบแอโรบิก


นี่คือประเภทของปุ๋ยหมักที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แอโรบิกหมายความว่าการทำปุ๋ยหมักประเภทนี้ต้องใช้ออกซิเจน จะต้องพลิกปุ๋ยหมักเป็นประจำเพื่อให้ออกซิเจนเข้ากอง


จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ วิธีนี้โดยทั่วไปจะเร็วกว่าวิธีอื่นๆ และสร้างความร้อน (บางครั้งเรียกว่า “การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน”)



การทำปุ๋ยหมักแบบแอโรบิกต้องผ่าน 3 ระยะ โดยที่จุลินทรีย์ต่างๆ จะทำงานที่อุณหภูมิต่างกัน



ไซโครฟิลิก 28-55°ฟ -2-13 c

ไซโครไฟล์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบในอุณหภูมิต่ำ จุลินทรีย์ไซโครฟิลิกเริ่มกองปุ๋ยหมัก แต่เมื่อมันร้อนขึ้น พวกมันจะถูกแทนที่ด้วยเมโซฟิล


เมโซฟิลิก 50-115°F 10 -46 c

Mesophiles เป็นผู้รับผิดชอบการสลายตัวส่วนใหญ่ในกองปุ๋ยหมักที่บ้าน พวกเขาชอบอุณหภูมิปานกลางและมีความสุขที่สุดที่ประมาณ 98°F


อุณหภูมิ 115-160°F 46-71 c

Thermophiles เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “การทำปุ๋ยหมักร้อน” ช่วงอุณหภูมินี้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักอย่างรวดเร็ว



ผลของอุณหภูมิต่อปุ๋ยหมัก


การจัดการอุณหภูมิที่ดีสามารถบอกผู้ทำปุ๋ยหมักว่าวัสดุทำปุ๋ยหมักได้เร็วเพียงใด ปุ๋ยหมักพร้อมใช้เมื่อใด และมีปัญหาใดๆ ในกองหรือไม่


อุณหภูมิที่สูงขึ้นในกองปุ๋ยหมักทำให้กระบวนการโดยรวมเร็วขึ้นและสร้างปุ๋ยหมักคุณภาพสูง อุณหภูมิที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้กระบวนการทำงานช้าลงหรือฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ได้ อุณหภูมิระหว่าง 32-60 °Cมักจะถือว่าเหมาะสมที่สุด ที่อุณหภูมิ 54-57° ปุ๋ยหมักจะร้อนพอที่จะฆ่าเชื้อโรค ตัวอ่อนแมลงวัน และเมล็ดวัชพืชส่วนใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กองปุ๋ยหมักอาจไม่ร้อนขึ้นหากเปียกเกินไป แห้งเกินไป หรือมีขนาดไม่ถูกต้อง และจะไม่ร้อนขึ้นอย่างถูกต้องหากขาดไนโตรเจน ออกซิเจน หรือแบคทีเรีย ปุ๋ยหมักที่เย็นเกินไปอาจส่งกลิ่นและใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่ามาก


อุณหภูมิที่สูงเกินไป (มากกว่า 71 °C) จะเริ่มฆ่าจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และกระบวนการทำปุ๋ยหมักจะหยุดลง การพลิกหรือเติมอากาศปุ๋ยก่อนที่จะเกิน 60 °Cสามารถป้องกันไม่ให้ร้อนเกินไป


หลายสิ่งหลายอย่างอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ 

กองความชื้นสูงสามารถทำความร้อนได้มากกว่ากองที่มีความชื้นน้อยกว่า


กองปุ๋ยหมักที่ใหญ่กว่าเก็บความร้อนได้ง่ายกว่ากองที่เล็กกว่า 

แม้แต่อุณหภูมิภายนอกก็สามารถมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์และกำหนดความร้อนของกองปุ๋ยหมักได้


ความชื้นไม่ควรมีมากเกินไป ประมาณ 40 % หรือเอามือขยำไม่มีน้ำไหลออกมา


ส่วนตัวชอบดู การทำดิน ของอาจาร์เปี๊ยกคนรักษ์ป่า เพราะดูง่าย ทำได้จริง