วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ต้นยางนา ไม้ 200 ปี

 

ต้นยางนา Yang, Gurjan, Garjan 

ไม้ยางนา เป็นเสมือนพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ ประมาณ 50 เมตร อายุยืนนานถึง 400 ปี ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบ

ชายลำธารในป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous forest) ที่สูง

จากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 600เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียจาก

ตอนใต้ของประเทศอินเดียศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซียลาวกัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์

ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don) เป็นพืชในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)

จัดเป็นพืชให้เนื้อไม้ที่มีความสำคัญมากรองจากไม้สัก 

(เอานึกเล่นๆท่านจะปลูกพญาไม้เอเซียในสวนป่าของท่านเชียวนะ)

จากงานวิจัยมากมาย WEGROFOREST จึงนำยางนามาปลูกพร้อมกับต้นสัก เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับดินและการเจริญเติบโตเต็มที่ของป่าผสมผสาน


ต้นยางนา คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีน้ำมันยางเป็นของเหลวข้น

ซึ่งการนำน้ำยางออกจากต้น สามารถใช้จากต้นที่อายุ 15 ขึ้นไปเฉลี่ยได้วันละ 1 ลิตร

หากคิดง่าย ปีละ 300 ลิตรตัวกลม ต่อ 1 ต้น พลังงานทดแทนน้ำมัน สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตอื่นใด ยางนามีอายุถึง 200 ปี หากเราปลูกยางนาในช่วงชีวิตเราแล้วนำน้ำมันมาใช้ 40 ปี 1 ต้นจะให้น้ำมันถึง 12,000 ลิตรเลยทีเดียว

ส่วนสรรพคุณของต้นยางนาอื่นๆ เล่า 3 วัน 3 คืนก็ไม่จบ มีงานวิจัยเกี่ยวกับยางนามากมาย


รายได้จากการปลูกยางนา

3 แรก กินเห็ดเก็บใบ
1. เห็ดทั้งปีเก็บได้ 4 กิโล คิดกิโลละ 50 บาท 200 บาทต่อปี 30 ปี 6000 บาท
2. เก็บใบยางนาใบละ 1 บาท 1ใบต่อสัปดาห์ 30 ปี ประมาณ 60,000 บาท
2. น้ำมันที่ได้จากต้นยางนาเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไปได้ 30 ลิตร ต่อต้นต่อปี 30 ปี 900 ลิตร คิดลิตรละ 100 xประมาณ 90,000 บาท
3. เมล็ดยาง 30 ปี มาเพาะ คิดปีละ 300-1000 ต่อต้นต่อปี  300 เมล็ดx30 ปี = 9000 เมล็ด มาเพาะขายต้นละ 10 บาท ได้ 90,000 บาท

รวมๆ 1 ต้น รายรับประมาณ 246,000 บาท
อ้างอิงโดย อาจารย์กฤษดา มหาวิทยาลัยขอนก่อน





ราคาต้นยางนา


ปัจจุบันนี้ราคาซื้อขายต้นยางนาขนาดใหญ่ ถือว่าทำรายได้ไม่แพ้ต้นสักทอง เพราะราคาซื้อขายต้น

ยางนาอายุ 15-20 ปี ราคาต้นละ 15,000-25,000 บาท ต่อต้น (ไก่,2555) ตัวเลขข้อมูลจากงานวิจัย มหาลัยขอนแก่น  

ซึ่งไม้ยางนาในปัจจุบันขาดแคลนและต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม้ยางนา เป็นไม้ที่มีความต้องการทางเศรษฐกิจสูง

เพราะว่าสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และไม้สร้างอาคารบ้านเรือน ซึ่งสามารถ

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ได้อย่างมหาสาล อีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันยางที่ได้จากต้นยางมาทำ

เชื้อเพลิง น้ำมันที่ได้จากต้นยางนา อายุ 15 ปี สามารถให้น้ำมันได้วันละ 1 ลิตร

วิธีนำน้ำยางออกมาจากต้นยางนา


ขยายพันธุ์ ยางนา อย่างไรนั้น

ไม้ยางนา หรือไม้วงศ์ยางส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปกติเมล็ดยางนาจะแก่และเริ่มร่วง

จากต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ดังนั้นการเพาะต้นกล้ายางนาจะเพาะจากเมล็ดที่เก็บมาจาก

พื้นดินใต้ต้นใหญ่ (ต้นแม่) เฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นที่จะสามารถงอกและเติบโตเป็นกล้าไม้ที่สมบูรณ์

ได้ เมล็ดที่เก็บแล้วไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเพราะจะเกิดการผ่อและลีบจากการสูญเสียความชื้นใน

เมล็ด หรือการเจาะกินเนื้อเยื่อภายในของพวกด้วงแมลงต่างๆ จนไม่สามารถงอกได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับ

การเพาะกล้าไม้ที่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้ตลอดทั้งปี บางปีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงมาก ยางนาไม่ออกดอก

ไม่มีเมล็ด ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการเพาะได้

ยางนา 1 ต้น สามารถให้เมล็ดได้ถึง 5 หมื่นเมล็ดเลยทีเดียว คิดเล่นๆเอามาเพาะขายต้นละ 10 บาท



ช่อดอกและดอกของยางนา (ภาพโดยพงษ์ศักดิ์พลเสนา และอนิษฐาน ศรีนวล)



ดอกยางนา

ยางนามีช่วงฤดูกาลออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีดอกออกเป็นช่อตามซอก

ใบและปลายกิ่ง เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกมีขน ดอกเป็นดอก

สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี

5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแผ่เป็นปีก เป็นปีกสั้น 3 ปีก และปีกยาว 2 ปีก เรียงจรดกัน

(valvate) ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลอ่อน กลีบเลี้ยงติดทนและขยายขนาดขึ้นเมื่อติดผล


ผลและเมล็ด

ยางนามีการผสมเกสรทั้งแบบการถ่ายเรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination) และการถ่ายเรณู

ข้ามต้น (cross-pollination) ในแต่ละช่อดอกจะติดผลเพียง 1-3 ผล ติดผลในช่วงประมาณเดือน

พฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ผลของยางนาจัดเป็นผลแบบผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) ซึ่งเป็นผล

แห้งไม่แตกแบบเปลือกแข็งมีเมล็ดเดียว (nut) รูปกลม ยาว 2-3 เซนติเมตร มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีก

ซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยงที่ขยายขนาดเป็นปีกยาว 2 ปีกยาวประมาณ 15 เซนติเมตรและปีกสั้น 3 ปีก

ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีแดงปนชมพูผิวมีขนสั้น


เมล็ดที่สมบูรณ์ดูจาก ปีกและผลต้องแห้ง สีของปีกและผลต้องเป็นสีน้ำตาล ถ้าผลยังสดอยู่และเป็นสีแดง

แสดงว่าผลยังอ่อนอยู่แล้วร่วง ไม่มีหนอนเจาะดูจากเมล็คถ้ามีขี้หนอนแล้วมีรูให้สันนิษฐานว่าโดนหนอน

เจ าะ ทดสอบความมีชีวิตโดยการ สุ่มเก็บเมล็ดสั ก 10-20เมล็ด โดยนำผลมาผ่าดูว่าภายในเมล็คมีสีอะไร ถ้า

ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำแสดงว่าเมล็ดเสียหายมาก ถือว่ามีเปอร์เซ็นตัความงอกต่ำ ถ้าผ่าออกมาแล้ว

ส่วนใหญ่มีสีขาวแสดงว่าเมล็ดมีความมีชีวิตสูงเมล็ดที่ใหญ่ต้นกถ้าที่ได้ก็จะใหญ่และแข็งแรงถ้าผสม

เชื้อไมคอร์ไรซา ในดินที่นำมาเพาะกล้าไม้จะช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้นซึ่งเป็นเชื้อราที่พบในรากของยางนา

เป็นชนิด เอคโตไมคอร์ไรซา เชื้อชนิดนี้มีผลต่อการเจริญเดิบโตของยางนาโดยเชื้อราจะช่วยในการดูดซับ

ความชื้นและแร่ธาตุในดินทำให้กล้ายางนาทนทานต่อความแห้งแล้งอีกทั้งยังป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นที่ราก

อีกด้วย


การเจาะเอาน้ำน้ำมันจากต้นยางนา


จากลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ยางนาและท่อน้ำมัน จึงได้มีการศึกษาเพื่อหาวิธีการเจาะเอา

น้ำมันยางนาแบบใหม่ โดยตั้งสมมุติฐานว่าถ้าสามารถเจาะรูตัดท่อน้ำมันที่อยู่ในเนื้อไม้ที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อ

เจริญเข้าไปได้ น้ำมันก็จะไหลออกมาตามรู สมมุติฐานนี้ได้พิสูจน์โดยใช้สว่านไฟฟ้าและดอกสว่านขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร เจาะเข้าในลำต้นลึกประมาณ 25 เชนติเมตร (ภาพที่ 2.9ก. และ 2.9ข.

ในทิศทางเฉียงขึ้นเพื่อให้น้ำยางซึ่งมีความหนืดไหลออกมาด้านนอกได้สะดวก (ภาพที่ 2.9ค.) ซึ่งปากรู

ทางออกจะมีภาชนะสำหรับเก็บแขวนอยู่ (ภาพที่ 2.9ง.) วิธีใหม่นี้สามารถเก็บน้ำมันยางนาได้โดยเฉลี่ย

ประมาณ 400 มิลลิลิตรต่อวันต่อรู ถ้าทิ้งไว้ประมาณ 1 วันน้ำมันยางจะเริ่มหยุดไหล เนื่องจากยางเหนียว

ที่อยู่ในน้ำมันเกิดการแข็งตัวปิดแผลที่เจาะ ต้องใช้แท่งเหล็กที่มีปลายงอเหมือนช้อน ขูดเอายางเหนียวที่ติด

ภายในรูออก น้ำมันยางนาก็จะเริ่มไหลได้อีก (สมพร เกษแก้ว และคณะ, 25542 วิธีนี้ไม่ทำให้เกิดแผลใหญ่

กับต้นไม้ ถ้าปล่อยแผลทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ต้นยางนาก็จะสามารถสร้างเนื้อเยื่อใหม่มาปิดได้เกือบหมด





รูปภาพ credit และอ้างอิงจาก

https://drive.google.com/file/d/0B1AMifuPWDycR2FzNmQ5UnVUb1E/view?resourcekey=0-NmgreT2v1W_e---i2TZjXA


ยางนาต้นไม้ของพระราชา

ยางนามีการปลูกขยายพันธุ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ต้นยางนาบริเวณสองฟากถนนสาย

เชียงใหม่-สารภี-ลำาพูน ซึ่งปลูกตั้งแต่ปีพ.ศ.2442และปลูกเพิ่มในปีพ.ศ.2465ในสมัยรัชกาลที่6 ปัจจุบัน

มีจำนวนมากกว่า 1,000 ต้น





ต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำพูน


ยางนา ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ได้มีพระราชปรารกเมื่อปี พ.ศ.2504 ด้วยทรงห่วงใยในสถานการณ์ของไม้ยางนาเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้วว่า

"ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดฟัน ไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่

น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปถูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณ ไม้ยางนาก็จะลดน้อยลง

ไปทุกที จึงควรที่จะ ได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการ

ปฏิบัติ"

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่

นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประกวบคีรีขันธ์ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างถนนเพชรเกษม ช่วงหลัก

กิโลเมตรที่ 176-179 ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนัก

พระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมบายน 2504 ให้เจ้าหน้าที่นำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านใน

บริเวณพระตำหนักจิตรถคารโหฐานส่วนหนึ่งและ ได้ทรงเพราะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้า

พระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง

จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ 4 เดือนในบริเวณสวนจิตลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 


เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าถูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ จำนวน

1,096 ต้น โดชมีระยะปลูก 2.50 x 2.50 เมตร เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุ

เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วน

พระองค์ส่วนจิตรลดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์

เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ(สมชัย,2550)

ลองเข้าไปอ่านประวัติ ดาบวิชัย (เป็นคนบ้าปลูกต้นไม้) เค้าลองผิด ลองถูก เรื่องการปลูกต้นไม้มาก

ว่า 20 ปีต้นไม้ที่ดาบพูดถึงเป็นประจำ มี 2 ชนิด คือ ยางนา และ ต้นตาลด้วยเหตุเพราะปลูกง่าย ทนทาน และ

มีประโยชน์มากมาย

ที่มา

http://www.qsbg.org/Database/Article/Art_Files/article24-4.pdf

http://wwww.kasctporpeang.com/forums/index.php?topic-48957.15,wap2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น